ข้อมูล ทั่วไป
การขาดวิตามินบี 1 (thiamin deficiency) พบได้ในประชากรทุกกลุ่มของประเทศไทย มีรายงานภาวะการขาดวิตามินบี 1 ตั้งแต่ร้อยละ 1ในเด็กก่อนวัยเรียนถึงร้อยละ 75ในคนงานก่อสร้าง (ตารางที่ 4.1.1)
สาเหตุสำคัญทีทำให้คนไทยเฉ่ยงต่อการขาดวิตามินบี 1 มีดังนี้
1. การกินข้าวขัดสีมากเป็นอาหารหลักร่วมกับการได้รับอาหารประเภทเนื้อสัตว์น้อย หรือได้รับอาหารทีมีสารทำลายวัตถุมีนบี 1 เป็นประจำ เช่น ปลาร้าดิบ ใบชา
2. ร่างกายมีความต้องการวิตามินบี 1 เพิ่มมากขี้น ได้แก่ เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตรผู้ที่ต้องใช้แรงงานหนักโดยเฉพาะเมื่อพลังงานส่วนใหญ่มาจากคาร์โบไฮเดรต เซ่น กรรมกร ซาวนา และผู้ที่ต้องใช้พลังงานมาก เซ่น นักกีฬา
3. โรคหรือพยาธิสภาพบางอย่างทำให้ร่างกายต้องการวิตามินบี 1 มากขึ้น เช่น โรคดิดเชื้ฦ ภาวะที่มีไข้สูง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคมะเร็ง โรคมาลาเรีย ผู้ป่วยที่ต้องล้างไต ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยที่มี hypermetabolism ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง และต้องกินยาขับปัสสาวะ furosemide หรือผู้สูงอายุที่ได้รับยาขับปัสสาวะเป็นประจำ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาค้นคว้าที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการเสริมวิตามินบี 1 ในผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมหรือ alzheimer
4. ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง หรือผู้ที่กินยาดองเหล้าเป็นประจำ มีโอกาสขาดวิตามินบี 1 ถ้าได้รับวิตามินบี 1 จากอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิขัตขวาง การดูดซึมของวิตามินบี 1 ผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง ความสามารถของตับในการเปลี่ยน thiaminให้เป็น active fom คือ thiamin pyrophosphate (TPP) จะลดลงด้วย
ตารางที่ 4.1.1 ความชุกของภาวะการขาดวิตามินมินบี 1 ในคนไทยวัยต่าง ๆ
กลุ่มประชากร ( จำนวน ) |
ร้อยละของการขาดวิตามินบี 1 |
สุปราณี แจ้งบำรุง และ คณะ พ.ศ.2530 |
|
ทารก ( 62 ) |
8.8 |
เด็กก่อนวัยเรียน ( 309 ) |
4.5 |
ศรีวัฒนา ทรงสมบูรณ์ และ คณะ พ.ศ.2533 |
|
เพศชาย |
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( 105 ) |
46 |
ภาคเหนือ ( 22 ) |
38 |
คนงานก่อสร้าง ( 100 ) |
69 |
คนงานในโรงงาน ( 114) |
47 |
ศรีวัฒนา ทรงสมบูรณ์ และ คณะ พ.ศ.2535 |
|
เพศชาย |
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( 42 ) |
50 |
ภาคเหนือ ( 19 ) |
95 |
ภาคกลาง( 5 ) |
60 |
คนงานไร่อ้อย |
91 |
ปราณีต ผ่องแผ้วและคณะ พ.ศ.2539 |
|
เด็กก่อนวัยเรียน ( 95-670 ) |
1.1 - 5.1 |
เด็กวัยเรียน ( 152-239 ) |
4.0 - 14.6 |
คนงานก่อสร้าง-คนงานในโรงงาน ( 90-114 ) |
5.2 - 75.0 |
ผูัใหญ่ ( 62-148 ) |
16.1 - 32.6 |
ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ( 205 ) |
3.4 - 11.9 |
กลุ่มมังสวิรัติในกรุงเทพมหานคร ( 132 ) |
7.6 |
หญิงวัยเจริญพันธ์ ( 318 ) |
0.6 - 4.7 |
หญิงตั้งครรภ์ ( 54-173 ) |
0 - 2.8 |
ประเสริฐ อัสสันตชัยและคณะ พ.ศ.2542 |
เพศชาย |
เพศหญิง |
ภาคกลาง ( 574 ) |
39.7 |
40.8 |
ภาคเหนือ ( 505 ) |
49.3 |
40.3 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( 509 ) |
19.9 |
18.9 |
ภาคใต้ ( 464 ) |
13.6 |
13.9 |
